วันจันทร์ที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

ระบบปฏิบัติการ DOS เป็นอย่างไร ?

ระบบปฏิบัติการ (operating system) เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของระบบซอฟต์แวร์ ระบบปฏิบัติการประกอบขึ้นจากชุดโปรแกรมที่ทำหน้าที่ควบคุมดูแลการดำเนินการต่าง ๆ ของระบบคอมพิวเตอร์ และประสานการทำงานระหว่างทรัพยากรต่าง ๆ ในระบบคอมพิวเตอร์ ทั้งส่วนที่เป็นซอฟต์แวร์และส่วนที่เป็นฮาร์ดแวร์ให้เป็นไปย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
ระบบคอมพิวเตอร์ในระดับไมโครคอมพิวเตอร์ โดยทั่วไปใช้ระบบปฏิบัติการที่จัดเก็บอยู่บนแผ่นบันทึกหรือฮาร์ดดิสก์ ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีในชื่อของ เอ็มเอสดอส (Microsort Disk Operating System : MS-DOS)
การเริ่มต้นทำงานของระบบปฏิบัติการดอส

การเริ่มต้นทำงานของระบบคอมพิวเตอร์จะเริ่มต้นโดยอัตโนมัติจากส่วนของชุดคำสั่งที่จัดเก็บอยู่ บนหน่วยความจำของระบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้อ่านได้อย่างเดียวที่เรียกว่ารอม (Read Only Memory : ROM) คำสั่งเหล่านี้จะทำหน้าที่ควบคุมอุปกรณ์พื้นฐานและทำการบรรจุระบบปฏิบัติการจากแผ่นบันทึกหรือฮาร์ดดิสก์ ขึ้นสู่หน่วยความจำหลัก หลังจากนี้การควบคุมการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์จะถูกบรรจ ุไปอยู่บนหน่วยความจำหลักเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โปรแกรมหนึ่งในระบบปฏิบัติการดอสที่ถูกบรรจุคือ โปรแกรมคำสั่งที่มีชื่อว่า command.com และกระบวนการเริ่มต้นการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ดังกล่าวนี้เรียกกันทั่วไปว่า การบูทเครื่อง (boot) คอมพิวเตอร์
การบูทเครื่องคอมพิวเตอร์มีอยู่ด้วยกัน 2 วิธีคือ
1. Cold Boot คือการเปิดเครื่องด้วยสวิตช์ปิดเปิดเครื่อง (power)
2. Worm Boot คือ จะใช้วิธีนี้ในขณะที่เครื่องเปิดอยู่ ในกรณีที่เครื่องค้าง (Hank) เครื่องไม่ทำงานตามที่เราป้อนคำสั่งเข้าไป การบูทเครื่องแบบนี้สามารถกระทำได้อยู่ 2 วิธีคือ
1. กดปุ่ม Reset
2. กดปุ่ม Ctrl+Alt+Del พร้อมกัน แล้วปล่อยมือ

คำสั่งของ DOS มีอยู่ 2 ชนิดคือ
1. คำสั่งภายใน (Internal Command) เป็นคำสั่งที่เรียกใช้ได้ทันทีตลอดเวลาที่เครื่องเปิดใช้งานอยู่ เพราะคำสั่งประเภทนี้ถูกบรรจุลงในหน่วยความจำหลัก (ROM) ตลอดเวลา หลังจากที่ Boot DOS ส่วนมากจะเป็นคำสั่งที่ใช้อยู่เสมอ เช่น CLS, DIR, COPY, REN เป็นต้น
2. คำสั่งภายนอก (External Command) คำสั่งนี้จะถูกเก็บไว้ในดิสก์หรือแผ่น DOS คำสั่งเหล่านี้จะไม่ถูกเก็บไว้ในหน่วยความจำ เมื่อต้องการใช้คำสั่งเหล่านี้คอมพิวเตอร์จะเรียกคำสั่งเข้าสู๋หน่วยความจำ ถ้าแผ่นดิสก์หรือฮาร์ดดิสก์ไม่มีคำสั่งที่ต้องการใช้อยู่ก็ไม่สามารถเรียกคำสั่งนั้น ๆ ได้ ตัวอย่างเช่น คำสั่ง FORMAT, DISKCOPY, TREE, DELTREE เป็นต้น
รูปแบบและการใช้คำสั่งต่าง ๆ
ในการใช้คำสั่งต่าง ๆ ของ DOS จะมีการกำหนดอักษรหรือสัญญลักษณ์ ใช้แทนข้อความของรูปแบบคำสั่ง ดังนี้
[d:] หมายถึง Drive เช่น A:, B:
[path] หมายถึง ชื่อไดเรคเตอรี่ย่อย
[filename] หมายถึง ชื่อแฟ้มข้อมูล หรือ ชื่อไฟล์
[.ext] หมายถึง ส่วนขยาย หรือนามสกุล
หมายเหตุ ข้อความที่อยู่ในวงเล็บ ([ ] ) ถ้าไม่มีก็ไม่ต้องใส่ในคำสั่ง

***อ้างอิง
สำนักบริการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
http://www.school.net.th/library/create-web/10000/generality/10000-809.html
คำอธิบายรายวิชา และ E-learning

คำอธิบายรายวิชา ระบบปฏิบัติการ 1
ความ หมาย และวิวัฒนาการของระบบปฏิบัติการ บทบาทหน้าที่ของระบบปฏิบัติการ การจ่ายงานหรือการจัดสรรหน่วยประมวลผล บทบาท การบริหารและการจัดการหน่วยความจำ การจัดคิวงานและการจัดทรัพยากร การจัดการรับข้อมูลและการแสดงผลระบบแฟ้ม การควบคุม การคืนสู่สภาพเดิม

วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับความหมาย วิวัฒนาการ และหน้าที่ของระบบปฏิบัติการ
2. เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจถึงโครงสร้างของระบบปฏิบัติการ
3. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถอธิบายถึงตัวอย่างระบบปฏิบัติการต่างๆ

แผนการสอน
สัปดาห์ที่
เนื้อหา
กิจกรรมการเรียนการสอน
สื่อการสอน

1
- ระบบคอมพิวเตอร์
- ชี้แจงแนวการสอน ข้อตกลงเบื้องต้นในการเรียน
- ชี้แจงวัตถุประสงค์การเรียน
- ถาม ตอบ เกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์ และระบบปฏิบัติการ
- มอบหมายแบบฝึกหัดเป็นการบ้าน
- PowerPoint ประกอบการบรรยาย
- เอกสารประกอบการสอน

2
- เบื้องต้นระบบปฏิบัติการ
- โครงสร้างระบบคอมพิวเตอร์
- โครงสร้างระบบปฏิบัติการ
- บรรยาย และถาม
-ตอบในชั้นเรียน
- เฉลยแบบฝึกหัด
- แบ่งกลุ่มมอบหมายให้ศึกษาตัวอย่างระบบปฏิบัติการต่างๆ
- มอบหมายแบบฝึกหัดเป็นการบ้าน
- PowerPoint ประกอบการบรรยาย
- เอกสารประกอบการสอน

สัปดาห์ที่
เนื้อหา
กิจกรรมการเรียนการสอน
สื่อการสอน

3
- การจัดการกระบวนการ
- เฉลยแบบฝึกหัด
- บรรยาย และถาม ตอบในชั้นเรียน
- ฝึกปฏิบัติใช้งานคำสั่งเบื้องต้นในระบบปฏิบัติการ DOS และ Windows
- ใบงานคำสั่งเบื้องต้นในระบบปฏิบัติการ DOS และ Windows

4
ทบทวนเนื้อหา
- แบบทดสอบ
- เฉลยแบบทดสอบ

5
กิจกรรมครั้งที่ 1

6-9- การจัดตารางการทำงานของซีพียู
- การประสานงานของกระบวนการ
- วงจรอับ
- บรรยาย และถาม-ตอบในชั้นเรียน
- ให้นักศึกษาทำแบบฝึกหัด
- มอบหมายแบบฝึกหัดเป็นการบ้าน
- เฉลยแบบฝึกหัด
- PowerPoint ประกอบการบรรยาย
- เอกสารประกอบการสอน

10
ทบทวนเนื้อหา
- แบบทดสอบ
- เฉลยแบบทดสอบ11กิจกรรมครั้งที่ 2

12
- การจัดการหน่วยความจำ
- บรรยาย และถาม-ตอบในชั้นเรียน
- ให้นักศึกษาทำแบบฝึกหัด
- มอบหมายแบบฝึกหัดเป็นการบ้าน
- PowerPoint ประกอบการบรรยาย
- เอกสารประกอบการสอน

13
กิจกรรมครั้งที่ 3

14
- หน่วยความจำเสมือน
- ส่วนต่อประสานระบบแฟ้มข้อมูล
- เฉลยแบบฝึกหัด
- บรรยาย และถาม-ตอบในชั้นเรียน
- ให้นักศึกษาทำแบบฝึกหัด
- PowerPoint ประกอบการบรรยาย
- เอกสารประกอบการสอน

15
- ตัวอย่างระบบปฏิบัติการต่างๆ
- นำเสนองานที่ได้รับมอบหมาย อภิปราย และสรุปโดยผู้สอน
- PowerPoint ประกอบการบรรยาย
- เอกสารประกอบการสอน
ชิ้นงานที่มอบหมายให้นักศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองศึกษาตัวอย่างระบบปฏิบัติการต่างๆ เช่น DOS, Windows, UNIX, LINUX

การวัดผลและประเมินผล
1. การวัดผล
คะแนนระหว่างภาคเรียน 70%เข้าเรียน
แบบฝึกหัด 20% รายงาน
นำเสนอ 20%
แบบทดสอบ 30%
คะแนนสอบปลายภาคเรียน 30%

2. การประเมินผล
เกณฑ์ในการตัดสินเพื่อประเมินเกรด
ระดับคะแนน A = 80-100%
ระดับคะแนน B+ = 75-79%
ระดับคะแนน B = 70-74%
ระดับคะแนน C+ = 65-69%
ระดับคะแนน C = 60-64%
ระดับคะแนนD+ = 55-59%
ระดับคะแนนD = 50-54%
ระดับคะแนน E = ต่ำกว่า 50%

เอกสารตำราเพื่อการศึกษาค้นคว้า
- เอกสารประกอบการสอน ของอาจารย์ผู้สอน
- Abraham Silberschatz, Peter Galvin. Operating System Concepts fifth edition.
- http://os-book.com
- ระบบปฏิบัติการ ของ มงคล อัศวโกวิทกรณ์
- ระบบปฏิบัติการ ของ พิเชษฐ์ ศิริรัตนไพศาลกุล

eLearningeLearning
คืออะไร ... ความหมายของ e-Learning ::: มีคนพูดถึงมากมายว่าเป็นมิติใหม่ของการเรียนการสอน แต่โดยความเป็นจริง ในเรื่องของการเรียนการสอนที่ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยนี้ มีการนำมาใช้ในวงการศึกษานานกว่า 20 ปีแล้วและได้พัฒนา รูปแบบต่างๆ เพื่อให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพสูงที่สุด และในปัจจุบันคอมพิวเตอร์และระบบเครือข่ายได้มี พัฒนาไปอย่างรวดเร็วทั้งมีประสิทธิภาพสูงขึ้น จึงทำให้การพัฒนาด้านการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการเรียนการสอน ให้มีรูปแบบที่ขยายกว้างออกในหลายๆทางตามการพัฒนาของเทคโนโลยี คำว่า e-Learning ได้มีผู้รู้ให้ความหมายไว้หลายนัย โดยสรุปได้คือ คำว่า E หรือ e (บางทีใช้ตัวใหญ่) จากคำว่า Electronic(s) และคำว่า Learning หมายถึง การเรียนรู้ เมื่อรวมกันเราก็จะหมายถึงการเรียนรู้ทาง อิเล็กทรอนิกส์ และยังหมายถึง Computer Learning ซึ่งก็คือการเรียนรู้ทางคอมพิวเตอร์หรือเป็นการเรียนรู้โดย ใช้คอมพิวเตอร์ ซึ่งในปัจจุบันเรามีรูปแบบของการเรียนการสอนที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์ให้เลือก ใช้ เช่น วีดีโอ ซีดีรอม สัญญาณดาวเทียม (Satellite) ระบบเครือข่าย ไม่ว่าจะเป็น แลน(LAN) อินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต หรือแม้แต่ ลักษณะของการเอ็กซ์ทราเน็ต และสัญญาณโทรทัศน์ ก็ได้จากการที่ e-Learning เป็นการเรียนที่สามารถโต้ตอบได้ใกล้เคียงการเรียนในห้องเรียนปกติและยังมี ข้อมูล เป็นอิเล็กทรอนิกส์ ก็เลยทำให้เนื้อหาข้อมูลต่างๆ สามารถที่จะนำเสนอโดยใช้เทคโนโลยีที่เป็นลักษณะของมัลติมีเดีย หรือลักษณะของการแสดงข้อมูลเป็น รูปภาพ กราฟ เสียง และภาพเคลื่อนไหวได้ ทำให้การเรียนการสอนแบบ e-Learning น่าสนใจมากขึ้น ถ้าเป็นตัวหนังสือล้วนๆ มีหวังหลับคาเครื่องคอมฯครับ และคุณสมบัติหลักอีกอย่าง หนึ่งของการเรียนแบบ e-Learning ก็คือ มันเป็นการเรียนระยะไกล หรือ Distance Learning คือ ผู้เรียน และ ผู้สอนไม่ต้องมาเจอกัน ไม่ต้องมาเห็นหน้ากันก็สามารถเรียนหนังสือได้ โดยไม่ต้องเดินทางกันให้เสียเวลา คือ ผู้เรียน และผู้สอน แค่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ และสามารถเชื่อมเข้าไปในโลกอินเตอร์เน็ตได้ก็สามารถเรียนและสอนกันได้แล้ว ดังนั้นมันก็เลยเป็นผลที่ทำให้เกิดลักษณะที่เรียกว่าเป็น Self-Learning หรือผู้เรียนหาทางเรียนได้ด้วยตัวเองขึ้นมา งานนี้ก็ได้ประโยชน์ตรงที่มันจะเป็นตัวช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ดัวยตนเอง และมีอิสระในการเรียน มีความคล่องตัวใน การเรียนมากขึ้นนอกจากคำว่า e-Learning แล้วก็ยังมีอีก 2-3 คำที่มีลักษณะและความหมายคล้ายคลึงกัน จนบางครั้งก็อาจ ทำให้งงๆกันได้ บางครั้งก็เรียกแทนกันจนงงว่ามันคือตัวเดียวกันหรือไม่ นั่นคือคำว่า" คอมพิวเตอร์ช่วยสอน" หรือ Computer Assisted Instruction หรือ CAI (บางคนก็เรียก Computer Based Learning) และอีกคำ หนึ่งคือ "การสอนบนเว็บ" หรือ Web-Based Instruction หรือ WBI ซึ่งถ้าเป็น e-Learning กับ CAI จะคล้ายๆกันตรงที่เป็นการเรียนแบบมัลติมีเดียผ่านทางคอมพิวเตอร์ และเป็นการเรียนแบบให้นักเรียนเรียนด้วย ตนเองเหมือนกัน แต่ถ้าเป็น CAI มักจะเป็นการเรียนแบบที่ไม่มีการใช้เครือข่าย (Network) กันเลย คือมักจะเน้น ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Stand Alone) คือใช้งานอยู่คนเดียวไม่เกี่ยวกับใคร ในขณะที่ e-Learning นี่มักจะใช้อยู่คนเดียวไม่ได้ จะมีการใช้เทคโนโลยีของอินเทอร์เน็ตหรือใช้เว็บเป็นส่วนสำคัญ ดังนั้น ถ้าเป็น CAI ก็จะเป็นการเรียนแบบออฟไลน์ ส่วน e-Learning เป็นการเรียนแบบออนไลน์ (ติดต่อได้ตลอดเวลา) และบางครั้งก็ อาจเรียก e-Learning ว่าเป็น CAI ที่ใช้บนอินเทอร์เน็ต ซึ่งอาจสรุปได้ว่า CAI เป็นหน่วยย่อยของ e-Learning ก็ว่าได้ ส่วน e-Learning กับ WBI สองตัวนี้เหมือนกันครับ คือเป็นการเรียนการสอนผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เพียงแต่ WBI จะเกิดมาก่อน e-Learning ซึ่งก็เรียกได้ว่าเป็นต้นกำเนิดของ e-Learning เหมือนกัน คือเมื่อ WBI พัฒนาขึ้นมาก็กลายเป็น e-Learning นั่นเองตัวอย่างแหล่งข้อมูล eLearning ในประเทศไทย ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างในการพัฒนาเนื้อหา ออนไลน์ ในประเทศไทย บางแห่งก็เริ่มต้นพัฒนาไปเป็นระบบ eLearning แล้ว สามารถใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาระบบ eLearning ของรายวิชาในสถาบันได้ http://www.learn.in.th/ - The First Online Learning Network in Thailand http://e-book.ram.edu/e-book/emc/ - Educational Media Center : Ramkhamhaeng University http://www.school.net.th/index.php3 - เครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อโรงเรียนไทย http://www.thaigoodview.com/ - บ้าน thaigoodview เป็นแหล่งรวมความรู้ เชิดชูผลงาน บริการด้วยน้ำใจ เยาวชนไทยได้พัฒนา http://www.ipst.ac.th/home.asp - สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี http://www.vcharkarn.com/ - วิชาการ.คอม http://ns.dltv.th.org/e-web/ - สถานีวิทยุโทรทัศน์การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ช่อง 11 ตัวอย่างบทเรียนออนไลน์ ในต่างประเทศ ต่อไปนี้ เป็นตัวอย่างบทเรียนออนไลน์ที่ดี มีรูปแบบที่แตกต่างกัน สามารถนำมาใช้เป็นตัวอย่างได้ ตามความสามารถ และตามถนัด Education Online Search at http://www.motionnet.com/ http://www.williamson-labs.com/home.htm http://www.howstuffworks.com/ http://goforit.unk.edu/cscourse.htm - Life Long Learning on the World Wide Web http://viking.delmar.edu/ - Delmar College http://wnt.cc.utexas.edu/~wlh/index.cfm - World Lecture Hall http://www.ai.univie.ac.at/oefai/ml/ml-resources.html - Online Machine Learning Resources http://www.ee.usyd.edu.au/webteach/ - Electrical and Information Engineering : University of Sydney e-Learning มีองค์ประกอบที่สำคัญ 4 ส่วน โดยแต่ละส่วนจะต้องได้รับการออกแบบมาเป็นอย่างดี เพราะเมื่อนำมาประกอบเข้าด้วยกันแล้วระบบทั้งหมดจะต้องทำงานประสานกันอย่าง ลงตัว1.เนื้อหาของบทเรียน อย่างไรก็ตามขึ้นชื่อว่าเป็นการศึกษาแล้ว เนื้อหาก็ต้องถือว่าสำคัญที่สุด ดังนั้น แม้ว่าจะพัฒนาให้เป็นแบบ e-Learning ก็จะต้องให้ความสำคัญกับเนื้อหาเป็นอันดับแรก 2.ระบบบริหารการเรียน หรือ LMS ซึ่งย่อมาจาก e-Learning Management System ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการติดต่อสื่อสารและการกำหนดลำดับของเนื้อหาในบท เรียน แล้วส่งผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ไปยังผู้เรียน ซึ่งรวมไปถึงขั้นตอนการประเมินผลในแต่ละบทเรียน ควบคุม และสนับสนุนการให้บริการแก่ผู้เรียน LMSจะทำหน้าที่ตั้งแต่เริ่มเข้าเรียน จัดหลักสูตร เมื่อผู้เรียนเริ่มต้นบทเรียน ระบบจะเริ่มทำงาน โดยส่งบทเรียนผ่านทางระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นได้ทั้งระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต หรือเครือข่ายอินทราเน็ตในองค์กร หรือเครือข่ายคอมพิวเตอร์อื่นๆ ไปแสดงที่ Web browser ของผู้เรียน จากนั้นผู้เรียนก็จะเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง และระบบก็จะติดตามและบันทึกความก้าวหน้า รวมทั้งสามารถจัดทำรายงานกิจกรรม และผลการเรียนของผู้เรียนในทุกหน่วยการเรียนอย่างละเอียด จนกระทั่งจบหลักสูตร 3.การติดต่อสื่อสาร ความโดดเด่นและความแตกต่างของ e-Learning กับการเรียนทางไกลแบบทั่วๆไป ก็คือการนำรูปแบบการติดต่อสื่อสารแบบ 2 ทาง(Two-way communication) มาใช้ประกอบในการเรียนเพื่อสร้างความน่าสนใจ และความตื่นตัวของผู้เรียนให้มากยิ่งขึ้น เช่น ในระหว่างบทเรียน ก็อาจจะมีแบบฝึกหัดเป็นคำถาม เพื่อเป็นการทดสอบในบทเรียนที่ผ่านมา และผู้เรียนก็จะต้องเลือกคำตอบและส่งคำตอบกลับมายังระบบในทันที ลักษณะแบบนี้จะทำให้การเรียนรักษาระบบความน่าสนใจในการเรียนได้เป็นระยะเวลา มากขึ้น นอกจากนี้วัตถุประสงสำคัญอีกประการของการติดต่อแบบ 2 ทางก็คือ ใช้เป็นเครื่องมือที่จะช่วยให้ผู้เรียนได้ติดต่อสอบถาม ปรึกษาหารือ และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างตัวผู้เรียนกับผู้สอน และระหว่างผู้เรียนกับเพื่อนร่วมชั้นเรียนคนอื่นๆ โดยเครื่องมือที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารอาจแบ่งได้ เป็น 2 ประเภทดังนี้==> ประเภท Synchronous ได้แก่ Chat (message, voice), White board/Text slide, Real-time Annotations, Interactive poll, Conferencing และ อื่นๆ==> ประเภท Asynchronous ได้แก่ กระดานข่าว, อีเมล์ เป็นต้น 4.การสอบ/วัดผลการเรียน เป็นส่วนประกอบสำคัญที่จะทำให้ การเรียนแบบ e-Learning เป็นการเรียนที่สมบูรณ์ โดยทั่วไปแล้วการเรียนไม่ว่า จะเป็นการเรียนในระดับใด หรือเรียนวิธีใด ก็ย่อมต้องมีการสอบ/การวัดผลการเรียนเป็นส่วนหนึ่งอยู่เสมอ แต่รูปแบบก็อาจจะแตกต่างกันไป กล่าวคือ ในบางวิชาต้องมีการวัดระดับความรู้(Pre-test) ก่อนสมัครเข้าเรียน เพื่อให้ผู้เรียนได้เลือกเรียนในบทเรียน หลักสูตรที่เหมาะสมมากที่สุด ซึ่งจะทำให้การเรียนที่จะเกิดขึ้นเป็นการเรียนที่มีประสิทธิภาพสูงสุด เมื่อเข้าสู่บทเรียน ในแต่ละหลักสูตรแล้วควรก็จะมีการสอบย่อยท้ายบท และการสอบใหญ่ ก่อนที่จะจบหลักสูตรเพื่อเป็นการวัดประสิทธิภาพในการเรียน ซึ่งการสอบใหญ่นี้ ระบบบริหารการเรียนจะใช้ข้อสอบที่มาจากระบบบริหารคลังข้อสอบ (Test Bank System) ซึ่งเป็นส่วนย่อยที่รวมอยู่ในระบบบริหารการเรียน (LMS : e-Learning Management System) สำหรับระบบบริหารคลังข้อสอบนั้น ควรมีลักษณะดังนี้ เป็นตัวอย่างคลังข้อสอบนั้น ควรมีลักษณะดังนี้ เป็นตัวอย่าง==> สามารถทำการสอบออนไลน์ผ่าน Web browser ได้ เพื่ออำนวยความสะดวกในการประเมินผลและสามารถในบริการได้อย่างครบวงจร==> สามารถใช้สื่อมัลติมีเดียมาประกอบในการสร้างข้อสอบ เพื่อให้มีลักษณะเดียวกันกับบทเรียน ที่ผู้เรียนสามารถทำความเข้าใจลักษณะการใช้งานรวมถึงการตอบโต้ในรูปแบบต่างๆ ผ่านทางหน้าจอ==> การรักษาความปลอดภัยทั้งในด้านการรับ-ส่งข้อสอบ เนื่องจากการดำเนินการต่างๆ รวมถึงขั้นตอนการสอบเป็นข้อมูลส่วนตัวสำหรับบุคคล อาจารย์เตรียม(ทำ) อะไร? ใน e-Learning เมื่อเราได้ทราบว่ากระบวนการจัดทำe-Learning ประกอบด้วยกลุ่มใดแล้ว คณาจารย์ก็ต้องมีการเตรียมระบบ การเรียนการสอนด้วย ซึ่งนักจิตวิทยาการศึกษาได้กล่าวว่าระบบการเรียนการสอนที่ดีนั้น จะต้องสร้างสถานการณ์ ให้ ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ 6 ประการ นั่นคือจัดแบ่งเนื้อหาออกเป็นตอนๆ ให้มีความยาวเหมาะสมกับวุฒิภาวะ ทางการรับรู้ของผู้เรียน (Gradual approximation) ด้วย e-Learning ผู้เรียนจะสามารถจัดแบ่งเวลาและเนื้อหา และการเรียกดูข้อมูลเนื้อหาวิชาทีละตอนตามความต้องการของ ตนเองได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว มีลักษณะการนำเสนอเป็นตอน ตอนสั้นๆ ที่เรียกว่า เฟรม หรือ กรอบ เรียงลำดับไป เรื่อยๆ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถรับรู้ และพัฒนาการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ ผู้เรียนสามารถศึกษาได้ด้วยตนเอง(Self Learning) ในe-Learning ควรจะทำปุ่มควบคุม หรือรายการควบคุมการ ทำงานให้ผู้เรียนสามารถโต้ตอบกับคอมพิวเตอร์ได้ เช่น มีส่วนที่เป็นบททบทวน หรือแบบฝึกปฏิบัติ แบบทดสอบ ให้ทำเพื่อ เป็นการประเมินการเรียนรู้ของตนเองได้ เนื่องจากผู้สอนและผู้เรียนไม่ได้ติดต่อกันโดยตรง ผู้เรียนอาจเกิดความรู้สึกเบื่อหน่าย ฉนั้นในการออกแบบ e-Learning จึงควรสร้างบรรยากาศการเรียนที่เป็น Interactive เพื่อทำให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมอยู่ตลอดเวลา เตรียมระบบที่ผู้เรียนสามารถรับทราบผลการเรียนรู้และกิจกรรมที่ทำโดยทันที ที่งานเสร็จจากการเฉลยคำตอบ จากการประเมินผล Online ซึ่งจะมีส่วนกระตุ้นให้ผู้เรียนมีความตั้งใจมากขึ้น เตรียมการนำเข้าสู่บทเรียนหรือกิจกรรมการเรียนที่ดี และมีการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน เพื่อประเมิน ความสามารถและทักษะของผู้เรียน เพื่อเลือกระดับของเนื้อหาและกิจกรรมที่เหมาะสมกับผู้เรียน เตรียมแรงเสริมในทางบวก(Positive Reinforcement) ให้กับผู้เรียนด้วยการแสดงข้อความหรือเสียงชมเชย และ หลีกเลี่ยงการตำหนิ การลงโทษ อันจะทำให้ผู้เรียนเกิดความรู้สึกเบื่อหน่าย ท้อแท้ ซึ่งจะทำให้กระบวนการเรียนรู้ล้มเหลวบทสรุป บทเรียนที่เป็นสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ไม่ใช่โปรแกรมสำเร็จรูป ที่สามารถซื้อหามาได้ แต่เป็นสิ่งที่บุคลากรในสถาบัน จะต้องร่วมกันสร้าง และ พัฒนาอย่างต่อเนื่อง ความยั่งยืน จึงจะเกิดขึ้น สิ่งเหล่านี้มิใช่กิจกรรมที่เป็นไฟไหม้ฟาง ฟางหมดแล้วดับมอดไป แต่เป็นสิ่งที่ จะต้องช่วยกัน เติมเชื้อไฟให้ติดต่อเนื่องไป สถานศึกษาทุกระดับต่างเร่งพัฒนาบทเรียนบนสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้ศิษย์ของตน ได้เรียนในสิ่งที่อยากเรียน ในเวลา และสถานที่ที่พร้อมจะเรียน สักวันหนึ่งในอนาคตอันใกล้นี้ eLearning จะเป็นดัชนี ชี้วัด ตัวหนึ่ง ในการประกันคุณภาพการศึกษา และสักวันหนึ่ง ในอนาคตอันใกล้นี้ จันทรเกษม อาจเป็นมหาวิทยาลัยออนไลน์ เช่นเดียวกับ NTU หรือ University of COLORADO Online หรือร่วมกับสถาบันอื่นรวมกลุ่มกันเป็น Virtual University เช่นเดียวกับ eCollege ก็ได้ สถาบันเปรียบเหมือนจอมปลวก จะมีขนาดใหญ่เพียงใดขึ้นอยู่กับความสามารถของราชินี ว่าจะ คิด(ให้สถาบัน)ใหญ่ ในทุกด้าน , มอง(การณ์)ไกล , ใจกว้าง มองเห็นความสามารถของคน และใช้คนเป็น ,สร้างศรัทธาและสามัคคี ให้เกิดขึ้นในใจคนทุกระดับและ มีคุณธรรม จรรยา เป็นตัวอย่างที่ดีต่อศิษย์ และคนทั่วไป ได้ดีเพียงใด
*** อ้างอิง
เปิดโลกe-Learningการเรียนการสอนบนอินเทอร์เน็ต โดย ดร.ศุภชัย สุขะนินทร์ และกรกนก วงศ์พานิช
Symbol
~ tilde
` grave accent
! exclamation point
@ at sign
# number sign
$ dollar sign
% percent
^ caret 2^3=8
& ampersand
* asterisk 2*3=6
( ) parentheses
_ underscore
+ plus sign 2+3=5
= equal sign
{ } braces
[ ] brackets
vertical bar
\ backslash
: colon
; semicolon
" “ ” quotation mark
' apostrophe
< > angle brackets
, comma
. period
? question mark
/ slash mark

chort cut key

CTRL+A ไฮไลต์ไฟล์ หรือข้อความทั้งหมด
CTRL+C ก๊อปปี้ไฟล์ หรือข้อความที่เลือกไว้
CTRL+X ตัด (cut) ไฟล์ หรือข้อความที่เลือกไว้
CTRL+V วาง (paste) ไฟล์ หรือข้อความที่ก๊อปปี้ไว้
CTRL+Z ยกเลิกการกระทำที่ผ่านมาล่าสุด
ปุ่ม Windows ถ้าใช้เดี่ยว ๆ จะเป็นการแสดง Start Menu
ปุ่ม Windows + D ย่อหน้าต่างที่เปิดอยู่ทั้งหมด
ปุ่ม Windows + E เปิด windows explorer
ปุ่ม Windows + F เปิด Search for files
ปุ่ม Windows + Ctrl+F เปิด Search for Computer
ปุ่ม Windows + F1 เปิด Help and Support Center
ปุ่ม Windows + R เปิดไดอะล็อคบ็อกซ์ RUN
ปุ่ม Windows + break เปิดไดอะล็อคบ็อกซ์ System Properties
ปุ่ม Windows +shift + M เรียกคืนหน้าต่างที่ถูกย่อลงไปทั้งหมด
ปุ่ม Windows + tab สลับไปยังปุ่มต่าง ๆ บน Taskbar
ปุ่ม Windows + U เปิด Utility Manager
alt+tab เพื่อเปลี่ยนหน้าต่างท่เปิดอยู่ ณ ขณะนั้น
Key Windows + R เพื่อที่ Run โปรแกรม
ปุ่ม Windows +E เปิด windows Explorer
ปุ่ม Windows +M ย่อขนาดหน้าต่างทั้งหมดลงมาเพื่อให้เห็น Desktop
ปุ่ม Windows +Shift+M ทำให้หน้าต่างที่ย่อกลับสู่สภาพเดิม
ปุ่ม Windows +D ย่อ/ยกเลิก ขนาดหน้าต่างทั้งหมดลงมาเพื่อให้เห็น Desktop
ALT+Print Screen ใช้copy หน้าต่างที่เปิดล่าสุด ไปไว้ที่คลิปบอร์ด แล้วนำไปpaste ในที่ต่างๆได้
ปุ่ม Windows +F ค้นหาfile ใน Hardisk
ปุ่ม Ctrl+C Copy ได้ทุกอย่างไม่ว่าจะเป็น ข้อความ file ...
ปุ่ม Ctrl+V Paste ได้ทุกอย่าง
ปุ่ม Ctrl+X Cut ได้ทุกอย่าง
ปุ่ม Ctrl+Q ใช้ออกจากโปรแกรมใดๆ ก็ได้
ปุ่ม Alt+F ใช้เปิด file ในโปรแกรมต่างๆ
ปุ่ม Atl+TAB เลือกหน้าต่างอย่างรวดเร็วโดยไม่ต้องใช้mouse
ปุ่ม Delete ใช้ลบสิ่งต่างๆ file ข้อความ
ปุ่ม Alt+Esc ใช้เลือกหน้าต่างที่เปิดไว้มากๆโดยวนไปรอบๆ
ปุ่ม Alt+F4 ปิดโปรแกรม / ปิด windows(shut down)
ปุ่ม shift + ลูกศร หรือ เมาส์ เป็นการเลือก(select) เพิ่มจากเดิม
ปุ่ม Ctrl + คลิ๊กเมาส์ เป็นการเลือก(select)file มากว่า1 โดยกดctrl ค้างไว้
ปุ่ม shift + shut down ( alt+F4) restart windows(ให้กดshiftค้างไว้)
ปุ่ม shift ค้างไว้ขณะใส่แผ่น Cd ยกเลิก autorun.

แถมฟังก์ชั่น
ปุ่ม “F” ต่างๆ ที่คุณพูดถึงมีชื่อเรียกว่า ปุ่มฟังก์ชัน (Function Keys) ซึ่งในอดีตโปรแกรมต่างๆ บนระบบปฏิบัติการ DOS จะใช้ปุ่มพวกนี้เป็นทางลัดในการเรียกฟังก์ชันการทำงานต่างๆ มากมาย แตกต่างกันไปตามลักษณะของโปรแกรม พวกมันช่วยให้การใช้งานโปรแกรมสะดวกรวดเร็วมาก ซึ่งในอดีตเรายังไม่มีเมาส์ให้ใช้กันอย่างทุกวันนี้ ทุกอย่างจึงต้องพึ่งคีย์บอร์ด จะว่าไปแล้ว ปุ่มฟังก์ชันก็เปรียบเสมือนทางลัดในการเข้าถึงฟังก์ชันการทำงานต่างๆ ได้โดยตรง แทนที่จะต้องกดหลายๆ ปุ่ม เพียงเพื่อเข้าถึงฟังก์ชันใดฟังก์ชันหนึ่งของโปรแกรมนั่นเอง มีหลาย โปรแกรมอยู่เหมือนกันที่ยังคงใช้ปุ่มฟังก์ชันเหล่านี้ แต่ที่ใช้เหมือนกัน และพบเห็นบ่อยๆ ก็เช่น F1 สำหรับเรียก ส่วนช่วยเหลือ (Help) ในส่วนของการ Setup ก็ยังคงมีการใช้ฟังก์ชันคีย์พวกนี้ ในกรณีที่เมาส์ไม่ทำงาน สำหรับในกรณีของ Microsoft Word ที่คุณพูดถึงนั้น คุณสามารถใช้ปุ่มฟังก์ชันได้ทุกปุ่ม เพื่อการใช้งานคำสั่งพื้นฐานต่างๆ ซึ่งมีดังนี้

F1 - เรียก Help หรือ Office Assistant
F2 - ย้ายข้อความ หรือกราฟิกต่างๆ
F3 - แทรกข้อความอัตโนมัติ (AutoText)
F4 - ทำซ้ำสำหรับแอคชั่นการทำงานล่าสุดของผู้ใช้
F5 - เลือกคำสั่ง Go To (เมนู Edit)
F6 - กระโดดไปยังกรอบหน้าต่างถัดไป
F7 - เลือกคำสั่งตรวจสอบคำสะกด (Spelling ในเมนู Tools)
F8 - ขยายไฮไลต์ของการเลือกข้อความ
F9 - อัพเดตฟิลด์ต่างๆ ที่เลือก
F10 - กระโดดไปเมนูบาร์
F11 - กระโดดไปยังฟิลด์ถัดไป
F12 - เลือกคำสั่ง Save As (เมนู File)
ASCII
Somchai Saisa
Hex Binary
S 53 01010011
A 41 01000001
R 52 01010010
A 41 01010011
W 57 01010111
U 55 01010101
T 54 01010100
P 50 01010000
R 52 01010011
A 41 01000001
T 54 01010100
H 48 01001000
O 4F 01001111
M 4D 01001101
P 50 01010000
A 41 01000001
S 53 01010011
T 54 01010100

Hex Binary
A 41 01000001
B 42 01000010
C 43 01000011
D 44 01000100
E 45 01000101
F 46 01000110
G 47 01000111
H 48 01001000
I 49 01001001
J 4A 01001010
K 4B 01001011
L 4C 01001100
M 4D 01001101
N 4E 01001110
O 4F 01001111
P 50 01010000
Q 51 01010001
R 52 01010010
S 53 01010011
T 54 01010100
U 55 01010101
V 56 01010110
W 57 01010111
X 58 01011000
Y 59 01011001
Z 5A 01011010

Hex Binary
a 61 01100001
b 62 01100010
c 63 01100011
d 64 01100100
e 65 01100101
f 66 01100110
g 67 01100111
h 68 01101000
i 69 01101001
j 6A 01101010
k 6B 01101011
l 6C 01101100
m 6D 01101101
n 6E 01101110
o 6F 01101111
p 70 01110000
q 71 01110001
r 72 01110010
s 73 01110011
t 74 01110100
u 75 01110101
v 76 01110110
w 77 01110111
x 78 01111000
y 79 01111001
z 7A 01111010

Hex Binary
0 90 10010000
1 91 10010001
2 92 10010010
3 93 10010011
4 94 10010100
5 95 10010101
6 96 10010110
7 97 10010111
8 98 10011000
9 99 10011001

แนะนำตัว
ชื่อ นายสมชัย สายสา
ชื่อเล่น หลอด
รหัสนักศึกษา 5112252138
สาขา วิทยาการคอมพิวเตอร์

เพื่อนสนิท
-
-